ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ เว็บบล็อก นางสาว ปาหนัน กอแก้ว

ฝึกสมองให้คิดพิชิตความสำเร็จ2


เปลือกสมอง

ที่พื้นผิวด้านนอกของเซเรบรัมนั้นจะมีลักษณะสองประการด้วยกกันประการแรกคือ มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยทำให้พื้นผิวด้านนอกสมองดังกล่าวซึ่งเรียกว่า    เปลือกสมอง (cerebral cortex )สามารถขดตัวอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็ก ได้โดยไม่กินเนื้อที่มากจนเกินไปนัก ประการที่สองก็คือ เซเรบรัมจะถูกแยกออกเป็นสองซีก                     ( hemispheres ) ซึ่งแม้ว่ารูปร่างหน้าตาของทั้งสองซีกเกือบดูจะเหมือนกันเลยก็ตาม แต่ก็มีการทำงานที่แตกต่างกันออกไปบ้างอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะในการทำงานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ภาษา และอารมณ์ อยู่ในระดับที่ซับซ้อนและลึกซึ้ง
       สมองแต่ละซีกจะประกอบด้วย กลีบสมอง ( lobes )ข้างละ4กลีบแต่ละกลีบจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป กลีบที่อยู่ด้านหลังสุดจะเรียกว่า กลีบสมองส่วนหลัง หรือ กลีบท้ายทอย ( occipital lobe )ซึ่งทำหน้าที่หลักเกี่ยวกับการมองเห็น กลีบที่อยู่บริเวณด้านบนเรียกว่า กลีบสมองส่วนบน หรือ กลีบกระหม่อม ( parietal lobe )ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น การสัมผัส ความหนาว ความร้อน เป็นต้น ในขณะที่กลีบที่อยู่ด้านหน้าสุดจะเรียกว่า กลีบสมองส่วนหน้า หรือ            กลีบหน้าผาก( frontal lobe )ซึ่งเป็นจุดกำหนดการสั่งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายรวมถึงบริเวณที่ใช้ทำงานเกี่ยวการใช้สติปัญญาชั้นสูงประเภทต่างๆด้วยเช่น การวางแผนและการคำนวณคณิตศาสตร์อันซับซ้อนเป็นต้น และกลีบสมองที่เหลืออีกส่วนหนึ่งก็คือ กลีบสมองส่วนข้าง หรือ กลีบขมับ ( temporal lobe ) ซึ่งจะทำงานเกี่ยวข้องกับการได้กลิ่น การมองเห็น และ ภาษา

การแบ่งปันหน้าที่ในการทำงาน

ขอให้คุณผู้อ่านทราบความจริงประการหนึ่งว่า รายระเอียดที่ได้อธิบายถึงส่วนต่างๆ ของสมองนั้นเป็นเพียงรายระเอียดคร่าวๆ เท่านั้น เนื่องจากการจะเฉพาะเจาะจงลงไปให้ชัดเจนถึงหน้าที่ของสมองนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก และการศึกษาที่เชื่อถือได้ดีกับเฉพาะสมองของมนุษย์ที่ทำงานผิดปกติอันเนื่องจากความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งในตอนมีชีวิตเท่านั้น และหนึ่งในกรณีตัวอย่าง ที่เป็นที่รู้จักกันดีของ ฟิเนียส เกจ ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค..1848เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับเขาในขณะที่ทำงาน เขาถูกท่อนเหล็กเสียบเข้าทีบริเวณสมองด้านหน้า
        เรื่องนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกๆคนต้องพบกับความแปลกใจเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อ ฟิเนียสฟื้นขึ้นมา นิสัยของเขาก็ได้เปลี่ยนแปลงไปชั่วข้ามคืนเขาเปลี่ยนจากคนขี้เกรงใจและมีความรับผิดชอบกลายเป็นคนที่ปากร้าย อารมณ์เสียบ่อยและไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าระยะยาวได้ จนกระทั้งในปี ค..1994ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์จำลองกะโหลกศีรษะและสมองของเขาขึ้นมาใหม่ข้อเท็จจริงได้แสดงให้เห็นว่า ฟิเนียสต้องทนทุกข์ จากความเสียหายของสมองส่วนที่ในปัจจุบันเชื่อกันว่าเป็นส่วนที่ควบคุมการรู้จักเหตุผลและการวางแผนล่วงหน้า
    อย่างไรก็ตามในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ความก้าวหน้าด้านการสแกนสมองได้ก้าวหน้าไปมาก ช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถมองเห็นกิจกรรมต่างๆของสมองแบบเรียลไทม์ และสามารถสังเกตเห็นได้ว่า เมื่อคนเราทำกิจกรรมประเภทต่างๆนั้นมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับสมองของคนเราบ้างและการสังเกตดังกล่าวได้เปิดเผยให้เห็นว่าขณะที่บางส่วนของสมองทำหน้าที่หลักของตัวเองอยู่นั้น สมองส่วนอื่นๆ อีกหลายส่วนหรือเกือบทั้งหมดก็ทำงานดังกล่าวไปพร้อมๆกันด้วยแต่จะมากน้อยต่างกันไปเท่านั้น ซึ่งหลายๆส่วนก็เคยเป็นที่เชื่อกันมาก่อนว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกับการทำงานกับเรื่องนั้นๆแต่อย่างใด ดังนั้นถ้าจะพูดในอีกทำนองหนึ่งก็สามารถพูดได้ว่าการทำงานประเภทต่างๆโดยเฉพาะการรู้คิดนั้นถูกกระจายออกไปยังส่วนต่างๆ ของสมองแทบทุกส่วนเลยทีเดียว


 ความคิดสร้างสรรค์

ในปัจจุบันนี้ ความคิดสร้างสรรค์ถือเป็นคำที่นิยมพูดกันมากในธุรกิจ รวมถึงในการศึกษาด้านการบริหาร และด้านอื่นๆ อีกหลายด้านในยุคที่เราสามารถโอนงานประจำที่ทำซ้ำๆ และน่าเบื่อไปให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์ทำแทนได้พร้อมกับการที่ค่าแรงงานราคาถูกต่างก็กำลังสุญเสียความสามารถในการแข่งขันกับแรงงานของประเทศอื่นลงเรื่อยๆนั้นทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญกับมูลค่าเพิ่มที่จะได้จากความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นทุกที เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพอันชาญฉลาด รวมทั้งวัตกรรมที่ทั้งแปลกใหม่และทรงคุณค่านั้นเอง
ทำไมจึงต้องคิดแบบสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะด้านความคิดหรือความสามารถที่เกี่ยวข้องกับ ความฉลาด ความเข้าใจ ความคิดริเริ่ม และการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ ความคิดสร้างสรรค์หมายถึงการคิดถึงสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ การจัดการปัญหาด้วยแง่มุมใหม่ การให้คำจำกัดความกฎระเบียบและข้อสันนิษฐานใหม่การทำความเข้าใจปัญหาหรือแนวคิดต่างๆ แบบมีรูปแบบหรือรูปทรง การมีความเข้าใจต่อลักษณะตามธรรมชาติของปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาและการสร้างรูปแบบการตอบสนองต่อปัญหาด้วยวิธีอันหลากหลายแต่ว่ามีจุดหมาย และมีความสุขุมรอบคอบต่อประโยชน์ที่จะได้รับ รวมถึงความเหมาะสมด้วย และในยุคนี้คำที่เหมือนจะมีความหมายคล้ายๆกับความคิดสร้างสรรค์ก็คือ การคิดต่างและการคิดนอกกรอบนั้นเอง


การคิดนอกกรอบ

   การคิดนอกกรอบ( lateral thinking )เป็นคำที่คิดค้นโดยนักจิตวิทยาที่ชื่อ                เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน  เพื่ออธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่จะเป็นการจู่โจมปัญหาจากด้านข้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราจะแก้ปัญหา มักจะใช้วิธีการจัดการปัญหาแบบตรงไปตรงมา โดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เราแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ด้วยการคำนวณ เราแก้ปัญหาพนักงานที่ไม่ค่อยจะอยู่ในระเบียบวินัยด้วยการบังคับควบคุมเขาด้วยกฎระเบียบอันเข้มงวด เราแก้ปัญหาที่เกิดจากการขาดแคลนเครื่องมือในการทำงานด้วยการทุ่มงบประมาณให้มากพอ เพื่อซื้อเครื่องมือมาเพิ่มเป็นต้น
      บ่อยครั้งมีที่มีวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นวิธีการที่ได้ผลแต่ เดอ โบโน ให้ความคิดเห็นว่าการจู่โจมปัญหาจากด้านข้างสามารถทำให้เกิดทางเลือกซึ่งบางครั้งอาจเปแนทางเลือกที่ดีกว่าการแก้ปัญหานั้นๆได้เหมือนกันตัวอย่างเช่น วิธีการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ดีกว่า บางครั้งอาจเป็นการวาดรูปทรงสำหรับบอกระยะทางขึ้นมา วิธีการแก้ปัญหาพนักงานที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัย อาจเป็นการพยายามมองหาว่า ทำไม พวกเขาถึงไม่มีความสุขในการทำงานหรือวิธีการแก้ปัญหาเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานไม่เพียงพออาจ อาจเป็นการหาวิธีทำงานรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับปริมาณเครื่องมือที่มีอยู่มากกว่าก็ได้
        ความคิดนอกกรอบสามารถช่วยประหยัดเวลาได้ด้วย ทั้งความคิดสร้างสรรค์ และความคิดนอกกรอบถือว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความคิดในการแก้ปัญหาแบบเดิมใช้ไม่ได้ผล ซึ่งคุณอาจจะพบปัญหาลักษณะนี้ในเกมต่างๆที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มาบ้างแล้วก็ได้ คุณอาจจะพยายามแล้วพยายามอีก แต่มันก็ยังคิดไม่ออกเสียที่ ซึ่งถือเป็นปัญหาคลาสสิกที่ทำให้คุณต้องใช้วิธีการคิดนอกกรอบในที่สุด เพราะการเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหารวมถึงการเปลี่ยนวิธีการตีกรอบของปัญหาของคุณนั้น อาจสามารถช่วยคุณแก้ปัญหาต่างๆได้กระจ่างขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

การคิดแบบอเนกนัย

อีกวิธีหนึ่งในการพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ก็คือ การพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า การคิดแบบอเนกนัย( divergent thinking )โดยปกติแล้วเมื่อคุณพบกับปัญหาคุณพบกับปัญหาคุณจะเริ่มหาหนทางและสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้นขึ้นมา และเมื่อคุณไตร่ตรองปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง คุณจะค่อยตัดทางเลือกที่เป็นไปได้เหล่านั้นออก จนกระทั้งคุณสามารถมุ่งให้ความสำคัญต่อทางเลือกเพียงทางเดียวที่มีแนวโน้มว่าจะแก้ปัญหาให้คุณได้แล้วทำตามทางเลือกนั้น จนกระทั้งสามารถแก้ปัญหาให้คุณได้ ซึ่งวิธีการคิดเช่นนี้ว่า การคิดแบบอเนกนัย ( convergent thinking )เนื่องจากการคิดจะประมวลผลจนกระทั้งเหลือแนวทางในการแก้ไขปัญหาแนวทางเดียวนั้นเอง
       บ่อยครั้งที่การคิดแบบอเนกนัยเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการกับการแก้ปัญหาแต่ถ้าปรากฏามันนำคุณไปสู่จุดที่จะหาทางออกต่อไปไม่ได้อีกแล้ว
คุณก็จะติดอยู่ตรงนั้นและคนจำนวนมากพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาทางออกเพื่อก้าวไปสู่ความคิดใหม่ๆได้ ด้วยการคิดแบบอเนกนัย คุณยังสามารถค้นหากระบวนการแก้ปัญหาได้หลากหลายวิธีหรือหลากหลายช่องทางอยู่ แม้ว่ามันจะดูคลุมเครือหรือไม่มีความชัดเจนก็ตามแต่ว่ามันก็ถือว่าเป็นความคิดที่มีเหตุมีผลเช่นกัน ขณะที่วิธีการแก้ปัญหาวิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งไม่สามารถเป็นไปได้ขึ้นมาคุณก็สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาในแง่มุมที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนก็ได้ ซึ่งนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นการคิดนอกกรอบเหมือนกัน

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

แบบทดสอบที่รวบรวมไว้ในบทนี้ จะเป็นแบบทดสอบที่ท้าทายที่คุณคิดได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาตอบสนองตามปกติที่เราจะมองหาคำตอบก็คือ การนึกถึงประสบการณ์ที่เคยพบมา ในขณะที่ปัญหานั้นอาจซับซ้อนหรือเป็นเรื่องจำกัดวงมากกว่าที่เราคิดไว้ ดังนั้นคำถามก็คือ แล้วคุณจะทำอย่างไรให้ระดับความรับรู้และความเข้าใจของคุณก้าวไปจนถึงขั้นที่แก้ปัญหาได้ ซึ่งต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ
คุณตีกรอบปัญหาของคุณอย่างไร
     สิ่งต่างๆที่มักเป็นอุปสรรคในการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาก็คือ ข้อสันนิษฐาน หรือความคิดของคุณที่คิดล่วงหน้าไปก่อนเกี่ยวกับลักษณะของการแก้ปัญหาและรูปแบบวิธีของการ แก้ ปัญหานั้นเอง ดังนั้นก่อนที่คุณจะตีกรอบให้กับการแก้ปัญหาของตัวคุณเอง คุณจำเป็นต้องระบุตัวปัญหาให้ชัดเจน แล้วพิจารณาดูว่าคุณจะคิดหาหนทางแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีใดบ้าง ตัวอย่าง เช่น ถ้าปัญหาดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขลองถามตัวคุณดูว่าจริงๆ แล้วปัญหาเกี่ยวข้องกับถ้อยคำหรือตัวอักษรด้วยหรือเปล่า ถ้าปัญหาหาดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ ลองถามตัวคุณเองว่า ปัญหานั้นแท้จริงแล้วถูกจำกัดขอบเขตของปัญหาตัวคุณเองหรือเปล่า ลองพยายามตีกรอบของปัญหาด้วยแนวทางหลายๆแนวทาง แล้วคุณอาจจะพบว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวมันง่ายขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้

คิดให้หลากหลายและแตกต่าง

       ขอให้คุณลองคิดในวิธีที่แตกต่างกันออกไปหลายๆแบบ เพื่อสร้างวิธีในการแก้ปัญหาหลายๆวิธีเข้าไว้ แน่นอนว่าวิธีการบางวิธีอาจจะถูกเป็นเรื่องไร้สาระอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็อาจมีวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถเป็นเสมือนแสงไฟส่องนำทางไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดก็เป็นได้

สร้างความเชื่อมโยง
    คุณสมบัติของผู้ที่คิดแบบริเริ่มสร้างสรรค์ได้ก็คือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลายความคิดที่แยกออกจากกันหรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อย่ามองข้ามความไร้สาระ
การระดมสมองและการระดมความคิดมีกฎที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ ไม่ควรมีการละเลยหรือมองว่าความคิดใดเป็นเรื่องไร้สาระหรือน่าขบขัน ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดที่มีระเบียบแผน มีเหตุผล และเป็นสิ่งที่รับฟังได้ ไม่ว่าจะมาจากตัวคุณเองหรือบุคคลอื่นก็ตาม อาจสามารถก่อให้เกิดความคิดเอกนัยหรือการสืบเสาะเรื่องราวลงสู่ก้นบี้งของปัญหาได้โดยเฉพาะเมื่อมีการพิจารณากลับไปกลับมาอย่างรอบคอบ และแน่นอนที่สุดว่าจำเป็นจะต้องมีกระบวนการกลั่นกรองความคิดต่างๆดังกล่าว ณ จุดใดจุดหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย

หลับไปพร้อมกับปัญหา

มีรายงานชิ้นเล็กๆที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้และกระจัดกระจายกันอยู่หลายชิ้นด้วยกันที่ระบุว่า ความคิดสร้างสรรค์และวิธีการแก้ปัญหาอันชาญฉลาดจะเกิดขึ้นกับผู้คนได้ขณะที่เขานอนหลับ และการวิจัยของมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม เมื่อไม่นานมานี้ก็ยืนยันว่า การประมวลผลข้อมูลโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวนั้นสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับตัวแปรจำนวนมาก


อ้างอิง

ภูริทัต ทองปรีชา.ฝึกสมองให้คิดพิชิตความสำเร็จ.กรุงเทพ:ซีเอ็ดยูเคชัน.2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น