ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ เว็บบล็อก นางสาว ปาหนัน กอแก้ว

ฝึกสมองให้คิดพิชิตความสำเร็จ3


การคิดนอกกรอบ

   การคิดนอกกรอบ( lateral thinking )เป็นคำที่คิดค้นโดยนักจิตวิทยาที่ชื่อ                เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน  เพื่ออธิบายวิธีการแก้ปัญหาที่จะเป็นการจู่โจมปัญหาจากด้านข้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราจะแก้ปัญหา มักจะใช้วิธีการจัดการปัญหาแบบตรงไปตรงมา โดยขึ้นอยู่กับตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เราแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ด้วยการคำนวณ เราแก้ปัญหาพนักงานที่ไม่ค่อยจะอยู่ในระเบียบวินัยด้วยการบังคับควบคุมเขาด้วยกฎระเบียบอันเข้มงวด เราแก้ปัญหาที่เกิดจากการขาดแคลนเครื่องมือในการทำงานด้วยการทุ่มงบประมาณให้มากพอ เพื่อซื้อเครื่องมือมาเพิ่มเป็นต้น
      บ่อยครั้งมีที่มีวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นวิธีการที่ได้ผลแต่ เดอ โบโน ให้ความคิดเห็นว่าการจู่โจมปัญหาจากด้านข้างสามารถทำให้เกิดทางเลือกซึ่งบางครั้งอาจเปแนทางเลือกที่ดีกว่าการแก้ปัญหานั้นๆได้เหมือนกันตัวอย่างเช่น วิธีการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ดีกว่า บางครั้งอาจเป็นการวาดรูปทรงสำหรับบอกระยะทางขึ้นมา วิธีการแก้ปัญหาพนักงานที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัย อาจเป็นการพยายามมองหาว่า ทำไม พวกเขาถึงไม่มีความสุขในการทำงานหรือวิธีการแก้ปัญหาเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานไม่เพียงพออาจ อาจเป็นการหาวิธีทำงานรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับปริมาณเครื่องมือที่มีอยู่มากกว่าก็ได้
        ความคิดนอกกรอบสามารถช่วยประหยัดเวลาได้ด้วย ทั้งความคิดสร้างสรรค์ และความคิดนอกกรอบถือว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความคิดในการแก้ปัญหาแบบเดิมใช้ไม่ได้ผล ซึ่งคุณอาจจะพบปัญหาลักษณะนี้ในเกมต่างๆที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้มาบ้างแล้วก็ได้ คุณอาจจะพยายามแล้วพยายามอีก แต่มันก็ยังคิดไม่ออกเสียที่ ซึ่งถือเป็นปัญหาคลาสสิกที่ทำให้คุณต้องใช้วิธีการคิดนอกกรอบในที่สุด เพราะการเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหารวมถึงการเปลี่ยนวิธีการตีกรอบของปัญหาของคุณนั้น อาจสามารถช่วยคุณแก้ปัญหาต่างๆได้กระจ่างขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ

การคิดแบบอเนกนัย

อีกวิธีหนึ่งในการพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ก็คือ การพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า การคิดแบบอเนกนัย( divergent thinking )โดยปกติแล้วเมื่อคุณพบกับปัญหาคุณพบกับปัญหาคุณจะเริ่มหาหนทางและสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหานั้นขึ้นมา และเมื่อคุณไตร่ตรองปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง คุณจะค่อยตัดทางเลือกที่เป็นไปได้เหล่านั้นออก จนกระทั้งคุณสามารถมุ่งให้ความสำคัญต่อทางเลือกเพียงทางเดียวที่มีแนวโน้มว่าจะแก้ปัญหาให้คุณได้แล้วทำตามทางเลือกนั้น จนกระทั้งสามารถแก้ปัญหาให้คุณได้ ซึ่งวิธีการคิดเช่นนี้ว่า การคิดแบบอเนกนัย ( convergent thinking )เนื่องจากการคิดจะประมวลผลจนกระทั้งเหลือแนวทางในการแก้ไขปัญหาแนวทางเดียวนั้นเอง
       บ่อยครั้งที่การคิดแบบอเนกนัยเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการกับการแก้ปัญหาแต่ถ้าปรากฏามันนำคุณไปสู่จุดที่จะหาทางออกต่อไปไม่ได้อีกแล้ว
คุณก็จะติดอยู่ตรงนั้นและคนจำนวนมากพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาทางออกเพื่อก้าวไปสู่ความคิดใหม่ๆได้ ด้วยการคิดแบบอเนกนัย คุณยังสามารถค้นหากระบวนการแก้ปัญหาได้หลากหลายวิธีหรือหลากหลายช่องทางอยู่ แม้ว่ามันจะดูคลุมเครือหรือไม่มีความชัดเจนก็ตามแต่ว่ามันก็ถือว่าเป็นความคิดที่มีเหตุมีผลเช่นกัน ขณะที่วิธีการแก้ปัญหาวิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งไม่สามารถเป็นไปได้ขึ้นมาคุณก็สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาในแง่มุมที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนก็ได้ ซึ่งนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นการคิดนอกกรอบเหมือนกัน

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

แบบทดสอบที่รวบรวมไว้ในบทนี้ จะเป็นแบบทดสอบที่ท้าทายที่คุณคิดได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วปฏิกิริยาตอบสนองตามปกติที่เราจะมองหาคำตอบก็คือ การนึกถึงประสบการณ์ที่เคยพบมา ในขณะที่ปัญหานั้นอาจซับซ้อนหรือเป็นเรื่องจำกัดวงมากกว่าที่เราคิดไว้ ดังนั้นคำถามก็คือ แล้วคุณจะทำอย่างไรให้ระดับความรับรู้และความเข้าใจของคุณก้าวไปจนถึงขั้นที่แก้ปัญหาได้ ซึ่งต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ
คุณตีกรอบปัญหาของคุณอย่างไร
     สิ่งต่างๆที่มักเป็นอุปสรรคในการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาก็คือ ข้อสันนิษฐาน หรือความคิดของคุณที่คิดล่วงหน้าไปก่อนเกี่ยวกับลักษณะของการแก้ปัญหาและรูปแบบวิธีของการ แก้ ปัญหานั้นเอง ดังนั้นก่อนที่คุณจะตีกรอบให้กับการแก้ปัญหาของตัวคุณเอง คุณจำเป็นต้องระบุตัวปัญหาให้ชัดเจน แล้วพิจารณาดูว่าคุณจะคิดหาหนทางแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีใดบ้าง ตัวอย่าง เช่น ถ้าปัญหาดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขลองถามตัวคุณดูว่าจริงๆ แล้วปัญหาเกี่ยวข้องกับถ้อยคำหรือตัวอักษรด้วยหรือเปล่า ถ้าปัญหาหาดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ ลองถามตัวคุณเองว่า ปัญหานั้นแท้จริงแล้วถูกจำกัดขอบเขตของปัญหาตัวคุณเองหรือเปล่า ลองพยายามตีกรอบของปัญหาด้วยแนวทางหลายๆแนวทาง แล้วคุณอาจจะพบว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวมันง่ายขึ้นกว่าเดิมก็เป็นได้

คิดให้หลากหลายและแตกต่าง

       ขอให้คุณลองคิดในวิธีที่แตกต่างกันออกไปหลายๆแบบ เพื่อสร้างวิธีในการแก้ปัญหาหลายๆวิธีเข้าไว้ แน่นอนว่าวิธีการบางวิธีอาจจะถูกเป็นเรื่องไร้สาระอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็อาจมีวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถเป็นเสมือนแสงไฟส่องนำทางไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดก็เป็นได้

สร้างความเชื่อมโยง
    คุณสมบัติของผู้ที่คิดแบบริเริ่มสร้างสรรค์ได้ก็คือความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลายความคิดที่แยกออกจากกันหรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อย่ามองข้ามความไร้สาระ
การระดมสมองและการระดมความคิดมีกฎที่สำคัญข้อหนึ่งก็คือ ไม่ควรมีการละเลยหรือมองว่าความคิดใดเป็นเรื่องไร้สาระหรือน่าขบขัน ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดที่มีระเบียบแผน มีเหตุผล และเป็นสิ่งที่รับฟังได้ ไม่ว่าจะมาจากตัวคุณเองหรือบุคคลอื่นก็ตาม อาจสามารถก่อให้เกิดความคิดเอกนัยหรือการสืบเสาะเรื่องราวลงสู่ก้นบี้งของปัญหาได้โดยเฉพาะเมื่อมีการพิจารณากลับไปกลับมาอย่างรอบคอบ และแน่นอนที่สุดว่าจำเป็นจะต้องมีกระบวนการกลั่นกรองความคิดต่างๆดังกล่าว ณ จุดใดจุดหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย

หลับไปพร้อมกับปัญหา

มีรายงานชิ้นเล็กๆที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้และกระจัดกระจายกันอยู่หลายชิ้นด้วยกันที่ระบุว่า ความคิดสร้างสรรค์และวิธีการแก้ปัญหาอันชาญฉลาดจะเกิดขึ้นกับผู้คนได้ขณะที่เขานอนหลับ และการวิจัยของมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม เมื่อไม่นานมานี้ก็ยืนยันว่า การประมวลผลข้อมูลโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัวนั้นสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีกว่าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตัดสินใจนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับตัวแปรจำนวนมาก


อ้างอิง

ภูริทัต ทองปรีชา.ฝึกสมองให้คิดพิชิตความสำเร็จ.กรุงเทพ:ซีเอ็ดยูเคชัน.2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น